วัดป่าไทย
วัดป่าไทยจัดเป็นสาขาหน่ึงของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหรือเป็นที่รู้จักกันอีกช่ือหนึ่งว่าพุทธศาสนานิกายฝ่ายใต้ซึ่งเป็นพุทธศาสนาที่ได้รับการนับถืออย่างแพร่หลายตลอดทั่วทั้งประเทศไทย รวมถึงประเทศในดินแดนแถบใต้อื่นๆคือ เมียนม่าร์หรือพม่า ศรีลังกา ลาวและกัมพูชา พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นพุทธศาสนาที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคแรกสุด ซึ่งถือหลักธรรมวินัยที่พระอรหันตเถระจำนวน 500 รูปได้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรกรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางเป็นแบบแผนไว้ ภายหลังการเสด็จดับขันธ์สู่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าไปแล้ว 3 เดือน
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทยประกอบด้วยหลากหลายสายและนิกาย ในแต่ละหมู่บ้านแต่ละเมืองส่วนใหญ่ทั่วประเทศไทยมีวัดตั้งอยู่อย่างน้อยหนึ่งแห่ง เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมสำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งเป็นสถานศึกษาหาความรู้และสถานพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย วัดในประเทศไทยมีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในแง่ของประโยชน์หน้าที่และในแง่ของการเข้าถึงชีวิตสมณะเพศ วัดในบางแห่งเน้นการสวดมนต์ พิธีกรรมทางศาสนาต่างๆหรือเวทมนต์ไสยศาสาตร์เพื่อขจัดความเจ็บไข้ได้ป่วย บรรเทาทุกข์ทางกายและทางใจ บางวัดมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การอบรมศึกษาทางปริยัติ วัดบางแห่งก็มุ่งเน้นการปฏิบัติเจริญสมาธิและวิปัสสนาภาวนา พระภิกษุสงฆ์ที่จำวัดอยู่ในวัดตามหัวเมืองใหญ่ต่างๆส่วนใหญ่จะให้ความสนใจในการศึกษาทางปริยัติและทำหน้าที่บริหารจัดการระบบระเบียบแบบแผนต่างๆมากกว่าการเจริญสมาธิภาวนา นอกจากความแตกต่างในแนวทางการถือครองสมณะเพศแล้ว พระภิกษุสงฆ์ในวัดแต่ละแห่งยังมีความแตกต่างกันในความเคร่งครัดต่อการยึดถือหลักพระธรรมวินัยอีกด้วย
วัดป่าไทยเป็นสายหนึ่งของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทยที่ยึดถือหลักพระธรรมวินัยดั้งเดิมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือวัดป่าไทยถือการปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนาเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นหัวใจของเพศบรรพชิต วัดป่าโดยพื้นฐานทั่วไปยึดถือหลักธรรมวินัยในการดำเนินชีวิต เป็นผู้สละการครองเรือนและเป็นผู้ปฏิบัติเจริญสมาธิและปัญญาเพื่อควมสงบและความรู้แจ้งตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การถือครองสมณะเพศอย่างเคร่งครัดช่วยขัดเกลาจิตใจของนักบวชทั้งหลายให้บริสุทธิ์ปราศจากความขุ่นมัว ซึ่่่่่่่่งจะเป็นการง่ายต่อการสำรวจสอดส่องเหตุปัจจัยอันเป็นรากเหง้าของความทุกข์ภายในจิตใจได้อย่างชัดเจน อีกทั้งง่ายต่อการปฏิบัติเจริญสมาธิและปัญญาเพื่อขจัดต้นเหตุแห่งทุกข์นั้นอย่างถอนรากถอนโคน เป็นหนทางนำเข้าสู่ความอิสระ หลุดพ้นจากความทุกข์ ประสบพบความสงบสุขอย่างแท้จริง นักบวชสายวัดป่าไทยถือครองเคร่ืองใช้ไม้สอยท่ีจำเป็นเพียงไม่กี่ชิ้น เพื่อช่วยลดภาระความหนักหน่วงของการดำรงสมณะเพศ และช่วยขจัดความอยาก ละความทิฏฐิหยิ่งทะนงและความมัวหมองต่างๆที่อยู่ภายในจิตใจ
พระภิกษุสงฆ์ สามเณรและนักบวชสายวัดป่ามีปฏิสัมพันธ์และดำเนินชีวิตประจำวันโดยอาศัยกำลังศรัทธาของญาติโยมและผู้คนในชุมชน สาธุชนและญาติโยมทั้งหลายให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนนักบวชทั้งหลายในด้านวัตถุปัจจัยไทยทานต่างๆ อาทิ อาหารและผ้าจีวรเครื่องนุ่งห่ม พระภิกษุสงฆ์ให้การอบรมสั่งสอนและสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรมต่อสาธุชนและญาติโยม พระป่ายึดถือพระธรรมวินัย 227 ข้อ เป็นผู้รักษาพรหมจรรย์ ฉันอาหารในระหว่างช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงเที่ยงวันเท่านั้น ไม่รับและไม่ถือครองเงิน อีกทั้งยังถือการเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าเป็นข้อวัตรปฏิบัติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาที่วิเวกตามธรรมชาติและเจริญภาวนา ในระหว่างการเดินธุดงค์ พระภิกษุสงฆ์จะพักอาศัยตามถ้ำหรือโคนต้นไม้ในที่เหมาะสมและฉันอาหารที่ได้รับจากการบิณฑบาตเท่านั้น
กำเนิดพุทธศาสนาไทยยุคปัจจุบัน
ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนาในประเทศไทยอยู่ในยุคเสื่อมถอย พระภิกษุสงฆ์ย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัย การอบรมสั่งสอนธรรมะคลาดเคลื่อนไปจากคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนาไม่ได้รับความสำคัญ และการบรรลุธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในช่วงระหว่างยุคมืดของพุทธศาสนานี้เอง ผู้ปฏิบัติธรรมที่มุ่งมั่นได้ริเริ่มหันกลับไปสู่ชีวิตที่เรียบง่าย อาศัยอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรม เจริญสมาธิภาวนาตามรอยพระพุทธเจ้าเพ่ือเข้าสู่กระแสแห่งนิพพาน ความแน่วแน่มุ่งมั่นต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนบรรลุธรรมของผู้ปฏิบัติธรรมที่อาศัยอยู่ตามป่าเขานี้เองเป็นจุดกำเนิดของวัดป่ายุคปัจจุบัน ซึ่งได้กำเนิดข้ึนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ทั้งพระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์เสาร์ (คือพระอาจารย์และสหายธรรมของพระอาจารย์มั่น) ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการกำเนิดวัดป่าไทยยุคปัจจุบัน ครูบาอาจารย์ทั้งสองท่านเกิดอยู่ในครอบครัวชาวไร่ชาวนาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พระอาจารย์มั่นเกิดในช่วงทศวรรษ 1870 ที่จังหวัดอุบลราชธานีใกล้เขตชายแดนประเทศลาวและกัมพูชา ในช่วงแรกท่านได้รับการอบรมสั่งสอนและปฏิบัติธรรมะจากพระอาจารย์เสาร์ซึ่งเป็นพระป่าผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาที่เข้มงวด หลังจากนั้นพระอาจารย์มั่นได้ปลีกวิเวก ออกบำเพ็ญเพียรเจริญสมาธิภาวนาตามป่าตามถ้ำแต่โดยลำพัง พระอาจารย์มั่นคือบุพพาจารย์ที่สำคัญยิ่ง อีกทั้งเป็นตัวอย่างของผู้ปฏิบัติและรักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด พระอริยเจ้าและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ได้รับความเคารพนับถือในยุคศตวรรษที่ 20 ของประเทศไทยเกือบจะทุกรูปทุกองค์ล้วนเป็นลูกศิษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนโดยตรงหรือเป็นผู้ที่เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์มั่นทั้งสิ้น พระอาจารย์ชาเป็นหนึ่งในจำนวนพระอริยเจ้าและครูบาอาจารย์ที่เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์มั่น
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระป่า
ธรรมเนียมปฏิบัติแบบพระป่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในบางช่วงประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ธรรมเนียมปฏิบัติแบบพระป่าได้รับความนิยมและมีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่บางช่วงก็เสื่อมถอยขาดความนิยม ในแง่มุมหนึ่ง อาจพูดได้ว่าธรรมเนียมปฏิบัติแบบพระป่าน้ีเริ่มมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล เน่ืองจากว่าเป็นแนวทางการปฏิบัติของผู้แสวงหาความหลุดพ้นตั้งแต่ยุคอินเดียโบราณ ผู้แสวงหาความหลุดพ้นในยุคนั้นละทิ้งบ้านเรือน ออกเดินทางแสวงบุญไปตามป่าตามเขา แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองเมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็ทรงดำเนินรอยตามธรรมเนียมปฏิบัติแบบพระป่านี้ ท่านสละชีวิตความเป็นเจ้าชายรัชทายาทเพื่อออกแสวงหาหนทางแห่งความหลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บและตาย
พระพุทธเจ้าทรงถือกำเนิดในป่า ทรงตรัสรู้และทรงแสดงธรรมสั่งสอนในป่า และทรงเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานในป่าอีกเช่นกัน พระอรหันตสาวกองค์สำคัญของพระพุทธเจ้าหลายองค์ อาทิ พระอัญญาโกณฑัญญะและพระมหากัสสปะ ล้วนเป็นผู้สละชีวิตการครองบ้านครองเรือน ดำเนินชีวิตแบบสมถะอาศัยอยู่แต่เพียงในป่าเท่านั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ผู้ถืออยู่เฉพาะในป่าเท่านั้น อย่างเช่นพระสาวกทั้งสององค์เป็นผู้บัญญัติธุดงควัตร 13 ข้อ ธุดงค์เป็นข้อวัตรปฏิบัติเพื่อขจัดกิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษโดยการสละวัตถุปัจจัยต่างๆและละทิ้งอารมณ์ความอยากและความยึดมั่นถือมั่น การถือธุดงควัตรนี้เปรียบเสมือนเป็นอุบายที่ใช้กำหนดการถือครองผ้าจีวรเครื่องนุ่งห่ม อาหารและเสนาสนะที่พักอาศัยสำหรับพระภิกษุสงฆ์และแม่ชี การประพฤติปฏิบัติถืออยู่ป่า อยู่ตามโคนต้นไม้ตามธรรมชาติเป็นหัวใจพ้ืนฐานสำคัญสำหรับพระป่าฝ่ายเถรวาทตลอดกาล
สาวกของพระพุทธเจ้าปฏิบัติธุดงควัตรด้วยเหตุผลหลายประการคือ การอาศัยอยู่ในป่าที่เต็มไปด้วยความยากลำบากและภยันตรายช่วยส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและฝ่าฟันความกลัว ความเงียบสงบเรียบง่ายและความงามตามธรรมชาติของป่าเป็นสถานท่ีสงบสุขสบายเกื้อหนุนการรักษาสมาธิ การอาศัยอยู่อย่างสมถะเรียบง่ายช่วยเอื้ออำนวยญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาในการอุปถัมภ์เกื้อกูลพระป่ามากกว่าพระภิกษุสงฆ์ที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองใหญ๋ และการอาศัยอยู่ในป่าของพระป่ายังถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ปรารถนาดีเพื่อช่วยนักบวชและพุทธศาสนิกชนรุ่นหลังให้พ้นทุกข์
การถือธุดงควัตรของพระป่ารุ่นแรกๆเป็นตัวอย่างของผู้เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งช่วยอธิบายให้นักบวชและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้เข้าใจถึงหนทางสู่ความหลุดพ้น นับตั้งแต่ยุคพุทธกาลตลอดเรื่อยมา หลักธรรมวินัยและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในบางช่วงบางเวลาก็มีความเจริญมั่นคงมาก บางช่วงก็ย่อหย่อนเสื่อมถอยจนต้องมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ถึงแม้ว่าความรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนาได้หมุนเวียนเปลี่ยนผันไปตามกาลเวลา แต่ลักษณะความเป็นอยู่และคำสั่งสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้ายังคงยืนหยัดสืบเนื่องอยู่ได้ก็เพราะความเสียสละและความเคร่งครัดมั่นคงในพระพุทธศาสนาของพระป่ารุ่นต่อๆมาที่เจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มุ่งเน้นความสมถะเรียบง่ายซ่ึงเกื้อหนุนการบำเพ็ญเพียรภาวนา
หลักธรรมวินัย คำสั่งสอนและแนวทางการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เมื่อ 2,500ปีก่อน สวนกระแสความต้องการทางโลกทั้งหลาย อันได้แก่ ลาภ ยศ อำนาจ สถานภาพทางสังคม ความมั่งคั่ง ความมีสิทธิ์มีเสียง ความสะดวกสบายและความสำเร็จทางด้านวัตถุ การคงอยู่ของพระพุทธศาสนาเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสังคม เพราะเป็นเครื่องช่วยเจริญปัญญา ความสงบและความรู้แจ้งเพื่อให้หลุดพ้นจากความต้องการทางโลกทั้งหลายทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ความต้องการทางโลกบิดเบือนและนำความเสื่อมถอยมาสู่ชีวิตความเป็นอยู่ของสมณะเพศ กล่าวตามประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาคือ วัดที่มีครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์และแม่ชีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของบุคคลทั้งหลาย จะมีผู้คนมาเยี่ยมเยือนและนำสิ่งของวัตถุปัจจัยต่างๆมากมายมาอุปถัมภ์ค้ำชูวัด ครูบาอาจารย์ผู้ที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่เคารพนับถือเหล่านี้นำอำนาจชื่อเสียงและความมั่งคั่งมาสู่วัด หากเป็นอยู่เช่นนี้โดยตั้งอยู่บนความประมาท ขาดความระมัดระวัง กระแสโลกจะเข้าทำลายกระแสธรรม ก่อให้เกิดการทุจริต ทุศีล ทำความชั่วภายในวัดได้ ในช่วงเวลาเช่นนี้ แนวทางการปฏิบัติแบบพระป่า เป็นผู้มักน้อยสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและการบำเพ็ญเพียรภาวนาของครูบาอาจารย์ผู้มีปัญญาและเป็นที่เคารพจะช่วยดำรงรักษาความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้